กรมอุตุฯ เตือนพื้นที่สีเหลือง เจอฝนถล่มหนัก เตรียมรับมือ

Uncategorized

วันที่ 11 พ.ย.66 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (11 พ.ย. 66) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศ เวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันนี้ (11 พ.ย. 66) ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตราย จากฝนตกหนัก รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความ ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 – 14 พ.ย. 66 ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า: ในช่วงวันที่ 11 – 14 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น

ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 17 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง

สถานการณ์แผ่นดินไหว(ในช่วงวันที่10 – 11 พ.ย. 2566): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 1.9, 2.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน และ ขนาด 2.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

เรียบเรียง มุมข่าว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *